มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมีนอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย อ่านต่อ
วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวีเนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย อ่านต่อ
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
๑.หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0 มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ.ศ.ไว้
๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด อ่านต่อ
นิทานเวตาล
นิทานเวตาลนิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยกรอง ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น ในภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน อ่านต่อ
อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช อ่านต่อ
คำนมัสการคุณาคุณ
คำนมัสการคุณาคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การวิจักษ์วรรณคดี
การวิจักษ์วรรณคดี คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ ในระดับต้นๆดี อ่านต่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)